วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

วิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองของไทย


วิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองของไทย

        ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศเก่าแก่ มีประวัติความเป็นมายาวนานชาติหนึ่ง แม้ว่าหลักฐานเกี่ยวกับปฐมกำเนิดของชาติไทยจะไม่สามารถยืนยันได้แน่ชัดว่า ชนชาติไทยเป็นผู้ที่อพยพมาจากทางตอนใต้ของประเทศจีนแถบมณฑลยูนาน หรือมีรกรากอยู่ในสุวรรณภูมิแห่งนี้มาแต่เก่าก่อนก็ตาม การศึกษาวิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองสมควรจะเริ่มต้นตั้งแต่ประเทศไทยตั้งอาณาจักรมั่นคงขึ้นในแหลมทอง เมื่อ พ.ศ. 1781 อาณาจักรแรกของชาติไทย คือ อาณาจักรสุโขทัย ซึ่งสถาปนาโดยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ต้นราชวงศ์พระร่วง ประกาศตนเป็นอิสระจากขอมซึ่งยึดครองดินแดนแถบนั้นอยู่ในสมัยนั้น

การเมืองการปกครองไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ก่อนหน้ามีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 อยู่ในรูปแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับระบอบเผด็จการ เพราะว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองเป็นของพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น พระมหากษัตริย์ได้อำนาจมาด้วยการสืบสันตติวงศ์ หรือการปราบดาภิเษก ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการสถาปนาหรือคัดเลือกพระมหากษัตริย์เลย

ระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มีลักษณะที่ไม่ราบรื่นและพัฒนามากนัก แม้ว่าจะดำเนินมาเป็นเวลากว่า 60 ปี แต่ก็พอจะอนุมานได้ว่าระบอบประชาธิปไตยได้หยั่งลึกพอสมควร การศึกษาการเมืองการปกครองไทยหากจะแบ่งยุคสมัยให้เหมาะสมแก่การศึกษาแล้วจะแบ่งออกได้เป็น 3 ยุคสมัยด้วยกัน คือ สมัยสุโขทัย ระหว่าง พ.ศ. 1781 – 1921 สมัยอยุธยา พ.ศ. 1893 – 2310 และสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 – 2475 ส่วนหลักจาก พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน จะกล่าวโดยละเอียดในบทต่อไปที่ว่าด้วยการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยของไทยในปัจจุบัน แม้ว่าในประวัติศาสตร์จะปรากฏว่ามีสมัยธนบุรีระหว่าง พ.ศ. 2311 – 2325 แต่เนื่องจากสมัยนั้นชาติไทยอยู่ในระยะสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นขึ้นมาใหม่หลักจากเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2310 และลักษณะการปกครองยังยึดแบบของกรุงศรีอยุธยาอยู่ ไม่ได้เสริมสร้างลักษณะใหม่ๆ ขึ้นมา จึงไม่ขอกล่าวเป็นการเฉพาะ และคงแบ่งยุคสมัยออกเป็น 3 สมัย ดังที่กล่าวตอนต้นเท่านั้น

 สมัยสุโขทัย
 สมัยอยุธยา
 สมัยอยุธยาตอนต้น
 สมัยอยุธยาตอนกลางและตอนปลาย
 สมัยรัตนโกสินทร์
 การปฏิรูปการปกครองสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 คณะราษฎร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น