วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สมัยลพบุรี

สมัยลพบุรี



สมัยลพบุรี

ในช่วงเวลาราวพุทธศตวรรษที่ 14 อิทธิพลทางวัฒนธรรมเขมรเริ่มแพร่หลายเข้ามาสู่พื้นที่ประเทศไทยทางด้านภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หลักฐ่านสำคัญที่ทำให้เราเชื่อได้ว่าอำนาจทางการเมืองของเขมรเข้ามาสู่ดินแดนไทย คือ ศาสน-สถานทั้งที่สร้างเนื่องในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู และศาสนาพุทธลัทธิมหายาน รวมทั้งศิลาจารึกต่างๆ ที่มีการระบุชื่อกษัตริย์เขมรว่าเป็นผู้สร้างหรือมีส่วนเกี่ยวข้อง วัฒนธรรมเขมรที่แผ่ขยายเข้ามาทำให้สังคมเมืองในยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ เช่น การก่อสร้างบ้านเมืองมีแผนผังแตกต่างไปจากเดิม คือ มีลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก และมีคูน้ำคันดินล้อมรอบเพียงชั้นเดียวแทนที่จะสร้างเมืองที่มีรูปร่างไม่สม่ำเสมอ หรือเมืองรูปวงกลม วงรี ซึ่งมีคูน้ำหลายชั้น มีระบบการชลประทานเพื่อการบริหารน้ำสำหรับการเพาะปลูกข้าวแบบนาดำ และมี “ บาราย ” หรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่เพื่อการอุปโภคบริโภคของชุมชน จนกระทั่งราวพุทธศตวรรษที่ 16–18 อาณาจักรเขมรได้เข้ามามีอำนาจในดินแดนไทยมากขึ้น ปรากฏโบราณสถานที่เกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมเขมรโดยเฉพาะในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เกือบทั่วภาคอีสาน ลึกเข้ามาถึงภาคกลางและภาคตะวันตก โดยภาคกลางของประเทศไทยมีเมืองละโว้หรือลพบุรีเป็นศูนย์กลางสำคัญที่ปรากฏหลักฐานทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแบบนี้อยู่มาก ดังนั้นในเวลาที่ผ่านมาจึงกำหนดชื่อเรียกอายุสมัยของวัฒนธรรมที่พบในประเทศไทยว่า “ สมัยลพบุรี ” หลังจากสมัยพระเจ้าชัย วรมันที่ 7 เป็นต้นมา อิทธิพลทางการเมืองและวัฒนธรรมเขมรก็เสื่อมโทรมลงจนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 19 ก็สลายลงโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้สาเหตุเนื่องมาจากการแพร่หลายเข้ามาของพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ และเมืองในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยแถบลุ่มแม่น้ำยมเริ่มมีความเข้มแข้งมากขึ้น สถาปัตยกรรมแบบวัฒนธรรมเขมรที่พบในประเทศไทย ที่สำคัญได้แก่ ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ประสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น


สมัยลพบุรี

เป็นชื่อใช้เรียกศิลปวัตถุ โบราณที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-18 โดยมีศูนย์กลางอาณาจักรอยู่ที่บริเวณจังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน ซึ่งในช่วงเวลานั้นลพบุรีอยู่ในช่วงภายใต้การปกครองของเขมร(ขอม)

สถาปัตยกรรม ได้แก่ ปรางค์ ปราสาท ที่สร้างขึ้นด้วยหินทราย อิฐ ศิลาแลง จึงเรียกว่าปราสาทหินและปรางค์ เช่นพระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีทับหลังรูปนารายณ์บันทมสินธุ์ที่งดงาม ปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์ และปรางค์ที่วัดนครโกษา จังหวัดลพบุรี

ประติมากรรม นิยมสร้างภาพสลักด้วยหิน โดยเฉพาะหินทราย ส่วนมากนิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก และยังมีการสลักรูปเหมือน เช่น รูปของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรเขมร

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น