วันจันทร์ที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2556

สมัยลพบุรี

สมัยลพบุรี



สมัยลพบุรี

ในช่วงเวลาราวพุทธศตวรรษที่ 14 อิทธิพลทางวัฒนธรรมเขมรเริ่มแพร่หลายเข้ามาสู่พื้นที่ประเทศไทยทางด้านภาคตะวันออกและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทย หลักฐ่านสำคัญที่ทำให้เราเชื่อได้ว่าอำนาจทางการเมืองของเขมรเข้ามาสู่ดินแดนไทย คือ ศาสน-สถานทั้งที่สร้างเนื่องในศาสนาพราหมณ์หรือฮินดู และศาสนาพุทธลัทธิมหายาน รวมทั้งศิลาจารึกต่างๆ ที่มีการระบุชื่อกษัตริย์เขมรว่าเป็นผู้สร้างหรือมีส่วนเกี่ยวข้อง วัฒนธรรมเขมรที่แผ่ขยายเข้ามาทำให้สังคมเมืองในยุคกึ่งก่อนประวัติศาสตร์เกิดการเปลี่ยนแปลงสภาพความเป็นอยู่ เช่น การก่อสร้างบ้านเมืองมีแผนผังแตกต่างไปจากเดิม คือ มีลักษณะผังเมืองเป็นรูปสี่เหลี่ยมมุมฉาก และมีคูน้ำคันดินล้อมรอบเพียงชั้นเดียวแทนที่จะสร้างเมืองที่มีรูปร่างไม่สม่ำเสมอ หรือเมืองรูปวงกลม วงรี ซึ่งมีคูน้ำหลายชั้น มีระบบการชลประทานเพื่อการบริหารน้ำสำหรับการเพาะปลูกข้าวแบบนาดำ และมี “ บาราย ” หรือแหล่งน้ำขนาดใหญ่เพื่อการอุปโภคบริโภคของชุมชน จนกระทั่งราวพุทธศตวรรษที่ 16–18 อาณาจักรเขมรได้เข้ามามีอำนาจในดินแดนไทยมากขึ้น ปรากฏโบราณสถานที่เกี่ยวเนื่องกับวัฒนธรรมเขมรโดยเฉพาะในช่วงรัชสมัยของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 เกือบทั่วภาคอีสาน ลึกเข้ามาถึงภาคกลางและภาคตะวันตก โดยภาคกลางของประเทศไทยมีเมืองละโว้หรือลพบุรีเป็นศูนย์กลางสำคัญที่ปรากฏหลักฐานทางสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมแบบนี้อยู่มาก ดังนั้นในเวลาที่ผ่านมาจึงกำหนดชื่อเรียกอายุสมัยของวัฒนธรรมที่พบในประเทศไทยว่า “ สมัยลพบุรี ” หลังจากสมัยพระเจ้าชัย วรมันที่ 7 เป็นต้นมา อิทธิพลทางการเมืองและวัฒนธรรมเขมรก็เสื่อมโทรมลงจนถึงราวพุทธศตวรรษที่ 19 ก็สลายลงโดยสิ้นเชิง ทั้งนี้สาเหตุเนื่องมาจากการแพร่หลายเข้ามาของพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ และเมืองในภาคเหนือตอนล่างของประเทศไทยแถบลุ่มแม่น้ำยมเริ่มมีความเข้มแข้งมากขึ้น สถาปัตยกรรมแบบวัฒนธรรมเขมรที่พบในประเทศไทย ที่สำคัญได้แก่ ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทหินพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ประสาทเมืองสิงห์ จังหวัดกาญจนบุรี เป็นต้น


สมัยลพบุรี

เป็นชื่อใช้เรียกศิลปวัตถุ โบราณที่ถูกสร้างขึ้นในช่วงระหว่างพุทธศตวรรษที่ 14-18 โดยมีศูนย์กลางอาณาจักรอยู่ที่บริเวณจังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน ซึ่งในช่วงเวลานั้นลพบุรีอยู่ในช่วงภายใต้การปกครองของเขมร(ขอม)

สถาปัตยกรรม ได้แก่ ปรางค์ ปราสาท ที่สร้างขึ้นด้วยหินทราย อิฐ ศิลาแลง จึงเรียกว่าปราสาทหินและปรางค์ เช่นพระปรางค์สามยอด จังหวัดลพบุรีในปัจจุบัน ปราสาทหินพิมาย จังหวัดนครราชสีมา ปราสาทพนมรุ้ง จังหวัดบุรีรัมย์ ซึ่งมีทับหลังรูปนารายณ์บันทมสินธุ์ที่งดงาม ปราสาทเมืองต่ำ จังหวัดบุรีรัมย์ และปรางค์ที่วัดนครโกษา จังหวัดลพบุรี

ประติมากรรม นิยมสร้างภาพสลักด้วยหิน โดยเฉพาะหินทราย ส่วนมากนิยมสร้างเป็นพระพุทธรูปปางนาคปรก และยังมีการสลักรูปเหมือน เช่น รูปของพระเจ้าชัยวรมันที่ 7 แห่งอาณาจักรเขมร

สมัยรัตนโกสินทร์

สมัยรัตนโกสินทร์



สมัยรัตนโกสินทร์

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติเป็นปฐมกษัตริย์แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์เมื่อวันที่ 6 เมษายนพ.ศ.2325 โปรดเกล้าฯให้ย้ายราชธานีมาตั้งอยู่บนฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยาตรงข้ามกับกรุงธนบุรี การสร้างพระนครเริ่มขึ้น ในปีพ.ศ.2326 เมื่อสร้างสำเร็จในปีพ.ศ. 2328 ได้พระราชทานนามว่า “กรุงเทพมหานครอมรรัตนโกสินทร์ฯ ” เป็นศูนย์กลางการปกครองของประเทศที่เจริญรุ่งเรือง มีพระมหากษัตริย์ในราชวงศ์จักรีปกครองประเทศมาจนถึงปัจจุบันจำนวน 9 พระองค์

สภาพกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นประชากรของประเทศยังคงน้อยมากเมื่อเปรียบเทียบกับพื้นที่ทั้งหมด สังคมความเป็นอยู่ยังคงยึดถือสืบเนื่องมาจากสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย มีการจัดระเบียบทางสังคมด้วยระบบเจ้าขุนมูลนาย ประชาชนส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำนา ทำไร่ ผลิตสินค้าเกษตร จำพวกน้ำตาล พริกไทย และหาของป่าจำพวกไม้สัก ไม้พยุง ไม้กฤษณาและไม้ฝาง การปลูกข้าวเป็นอาชีพหลัก ผลผลิตที่ได้จะใช้บริโภคและส่งออกขายเฉพาะส่วนที่เหลือจากการบริโภคแล้วเท่านั้น เนื่องจากบ้านเมืองยังคงตกอยู่ในสภาวะสงคราม การติดต่อค้าขายกับต่างประเทศส่วนใหญ่เป็นการทำการค้ากับประเทศจีน อยู่ภายใต้ความควบคุมของพระมหากษัตริย์โดยมีกรมพระคลังสินค้าเป็นผู้ดูแลผลประโยชน์ทางการค้า ต่อมามีการเซ็นสัญญาบาวริงในปี พ.ศ.2398 การผูกขาดทางการค้าถูกทำลาย ระบบการค้าเสรีเริ่มเกิดขึ้นและขยายกว้างขวางออกไปทำให้การค้าขายเจริญมากขึ้น มีชาวต่างชาติเข้ามาติดต่อซื้อขายกับไทยอย่างมากมาย เช่น อังกฤษซึ่งเข้ามาทำอุตสาหกรรมป่าไม้ในไทย สหรัฐอเมริกา ฝรั่งเศส เดนมาร์ก โปรตุเกส เนเธอร์แลนด์ ปรัสเซีย สวีเดน รุสเซีย เป็นต้น ข้าว ได้กลายเป็นสินค้าสำคัญเป็นอันดับหนึ่งในการส่งเป็นสินค้าออกไปขายยังต่างประเทศ นอกจากนั้นยังมีพืชเศรษฐกิจอื่นๆรวมถึงสินค้าที่เกิดจากการแปรรูปผลผลิตทางด้านเกษตรกรรม ทำให้เกิดการขยายตัวทางด้านเศรษฐกิจทั้งในภาคเกษตรกรรมและอุตสาหกรรมมาจนถึงปัจจุบัน ส่วนด้านสังคมในปี พ.ศ.2475 จึงเกิดการเปลี่ยนแปลงระเบียบสังคม เป็นสังคมระบอบประชาธิปไตย ประชาชนทุกคนมีสิทธิเท่าเทียมกันทางด้านกฎหมาย

ในด้านการศาสนาหลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่าแล้ว วัดวาอารามต่างๆ รวมทั้งคัมภีร์ทางศาสนาถูกทำลายเสียหายเป็นอันมากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯให้ทำนุบำรุงพระศาสนา โปรดฯให้สร้างวัดพระศรีรัตนศาสดารามเป็นวัดประจำพระนคร แล้วทรงอัญเชิญพระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากรแก้วมรกตจากเมืองเวียงจันทร์มาประดิษฐานเพื่อให้เป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมือง โปรดเกล้าฯให้มีการสังคายนาพระไตรปิฎกและให้ถือเป็นธรรมเนียมที่จะให้พระบรมวงศานุวงศ์และเสนาบดีช่วยกันบูรณะปฏิสังขรณ์วัดวาอารามที่ชำรุดทรุดโทรม ส่วนการปกครองคณะสงฆ์ยังคงใช้แบบอย่างของกรุงศรีอยุธยา มีการสอบไล่พระปริยัติธรรมสำหรับพระภิกษุสามเณรโดยนับเป็นข้าราชการแผ่นดินอย่างหนึ่งด้วย ในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงแบ่งการปกครองคณะสงฆ์ออกเป็น 4 คณะ คือ คณะเหนอ คณะใต้ คณะกลางและคณะอรัญวาสี เจ้าฟ้ามงกุฎซึ่งทรงผนวชอยู่ที่วัดสมอราย ได้ทรงประกาศประดิษฐานนิกายธรรมยุติขึ้นในพุทธศาสนา

ศิลปกรรมในด้านต่างๆ ยังคงเลียนแบบอยุธยาตอนปลาย เช่น การสร้างพระพุทธรูปส่วนมากสร้างขึ้นตามแบบพระพุทธรูปที่มีมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา นิยมสร้างพระพุทธรูปองค์เล็กๆ มากขึ้น และมักสร้างเป็นภาพเรื่องราวเกี่ยวกับพุทธประวัติตอนต่างๆ ในสมัยรัชกาลที่ 3 นิยมสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องใหญ่ เช่น พระศรีอาริยเมตไตรย์และสาวกที่ครองผ้าอุตราสงค์เป็นลายดอก ส่วนสถาปัตยกรรมในตอนแรกยังคงเป็นแบบสมัยอยุธยาตอนปลาย ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ทรงนิยมศิลปะแบบจีนทำให้เกิดศิลปะผสมผสานระหว่างไทยจีน ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา อิทธิพลของชาติตะวันตกได้เข้ามาสู่ประเทศไทยทำให้รูปแบบสถาปัตยกรรมกลายเป็นแบบตะวันตกมากขึ้นจนถึงปัจจุบัน


สมัยรัตนโกสินทร์

เป็นยุคสมัยที่ได้รับอิทธิพลแบบอย่างจากตะวันตกเข้ามามาก ศิลปะเริ่มตั้งแต่สมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกทรงสถาปนากรุงเทพฯ ขึ้นใน พ.ศ. 2325 มาจนถึงปัจจุบัน

สถาปัตยกรรม มีการสร้างวัดวาอารามขึ้นเป็นจำนวนมาก ปรากฏมีอิทธิพลการสร้างแบบหลังคาโดมโค้ง ซึ่งเป็นการรับอิทธิพลจากตะวันตก เช่น พระที่นั่งอนันตสมาคม เป็นต้น แนวศิลปะผสมระหว่างไทยกับตะวันตก เช่น พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง


พระที่นั่งจักรีมหาปราสาท ในพระบรมมหาราชวัง

ประติมากรรม มีการหล่อ การปั้น การแกะสลักพระพุทธรูปและรูปสัตว์สิงโต มีการปั้นรูปแบบคนเหมือนจริงขึ้นเป็นรูปปั้นอนุสาวรีย์ของรัชกาลต่างๆ

จิตรกรรม คงรักษารูปแบบของจิตรกรรมไทยไว้ เช่นการเขียนหนังสือที่โบสถ์สัดพระศรีรัตนศาสดาราม แต่ก็มีการรับเอาอิทธิพลศิลปะตะวันตกเข้ามาผสมผสาน เช่น เทคนิคภาพมองจากที่สูง และมีการใช้ทองปิดภาพวาด ศิลปินไทยที่สำคัญ ได้แก่ ขรัวอินโข่ง ที่ได้นำเอาอิทธิพลจิตรกรรมตะวันตก เข้ามาผสมผสานกับแบบจิตรกรรมไทย เป็นงาน 3 มิติ เช่น โบสถ์วัดบวรนิเวศวิหาร ที่กรุงเทพฯ



ในปี พ.ศ. 2310-2325 เริ่มต้นหลังจากที่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีได้ขับไล่ทหารพม่าออกจากแผ่นดินไทย ทำการรวมชาติ และได้ย้ายเมืองหลวงมาอยู่ที่กรุงธนบุรี โดยจัดตั้งการเมืองการปกครอง มีลักษณะการเมืองการปกครองยังคงดำรงไว้ซึ่งการเมืองการปกครองภายในสมัยอยุธยาอยู่ก่อน โดยมีพระมหากษัตริย์มีอำนาจเด็ดขาดในการเมืองการปกครอง อย่างไรก็ตาม ภายหลังสิ้นรัชสมัยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกได้สถาปนาตนขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์แห่งราชวงศ์จักรี และทรงย้ายเมืองหลวงมายังกรุงเทพมหานคร เริ่มยุคสมัยแห่งกรุงรัตนโกสินทร์

ในช่วงคริสต์ทศวรรษ 1790 กองทัพพม่าถูกขับไล่ออกจากดินแดนรัตนโกสินทร์อย่างถาวร และทำให้แคว้นล้านนาปลอดจากอิทธิพลของพม่าเช่นกัน โดยล้านนาถูกปกครองโดยราชวงศ์ที่นิยมราชวงศ์จักรีนับตั้งแต่นั้นเป็นต้นมา จนกระทั่งถูกผนวกเข้าเป็นส่วนหนึ่งของราชอาณาจักรสยามอย่างเป็นทางการ

สมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ไทยยังเผชิญกับการรุกรานจากประเทศเพื่อนบ้าน ได้แก่ สงครามเก้าทัพ, สงครามท่าดินแดงกับพม่า ตลอดจนกบฏเจ้าอนุวงศ์กับลาว และอานามสยามยุทธกับญวน

ในช่วงนี้ กรุงรัตนโกสินทร์ยังไม่ค่อยมีการติดต่อค้าขายกับชาติตะวันตกมากนัก ต่อมาเมื่อชาวตะวันตกเริ่มเข้ามาค้าขายอีก ได้ตระหนักว่าพวกพ่อค้าจีนได้รับสิทธิพิเศษเหนือคนไทยและพวกตน จึงได้เริ่มเรียกร้องสิทธิพิเศษต่าง ๆ มาโดยตลอด[15] มีการเดินทางเยือนของทูตหลายคน อาทิ จอห์น ครอเฟิร์ต ตัวแทนจากบริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ[15] ซึ่งเข้ามาในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย แต่ยังไม่บรรลุข้อตกลงใด ๆ สนธิสัญญาที่มีการลงนามในช่วงนี้ เช่น สนธิสัญญาเบอร์นี และสนธิสัญญาโรเบิร์ต[15] แต่ก็เป็นเพียงข้อตกลงที่ไม่มีผลกระทบมากนัก และชาวตะวันตกไม่ค่อยได้รับสิทธิพิเศษเพิ่มมากขึ้นแต่อย่างใด

อย่างไรก็ตาม ได้มีคณะทูตตะวันตกเข้ามาเสนอสนธิสัญญาข้อตกลงทางการค้าอยู่เรื่อย ๆ เพื่อขอสิทธิทางการค้าให้เท่ากับพ่อค้าจีน และอังกฤษต้องการเข้ามาค้าฝิ่นอันได้กำไรมหาศาล[15] แต่ไม่ประสบความสำเร็จ ทั้งคณะของเจมส์ บรุคจากอังกฤษ และโจเซฟ บัลเลสเตียร์จากสหรัฐอเมริกา ทำให้ชาวตะวันตกขุ่นเคืองต่อราชสำนัก
การเผชิญหน้ากับมหาอำนาจตะวันตก
ดูบทความหลักที่ กรุงรัตนโกสินทร์ และ การเปลี่ยนแปลงดินแดนของสยามและไทย
ดูเพิ่มที่ สยาม

ภายหลังจากที่พม่าตกเป็นอาณานิคมของอังกฤษในปี พ.ศ. 2369 พระมหากษัตริย์ไทยในรัชสมัยถัดมาจึงทรงตระหนักถึงภัยคุกคามที่มาจากชาติมหาอำนาจในทวีปยุโรป และพยายามดำเนินนโยบายทอดไมตรีกับชาติเหล่านั้น อย่างไรก็ตาม สยามมีการเปลี่ยนแปลงดินแดนหลายครั้ง รวมทั้งตกอยู่ในสถานะรัฐกันชนระหว่างอังกฤษและฝรั่งเศส ถึงกระนั้น สยามก็ไม่ตกเป็นอาณานิคมของชาติตะวันตก
การปฏิวัติเปลี่ยนแปลงการปกครอง
ดูบทความหลักที่ การปฏิวัติสยาม พ.ศ. 2475
ดูเพิ่มที่ ความเคลื่อนไหวสู่การเปลี่ยนแปลงการปกครองสยาม และ ลำดับเหตุการณ์คณะราษฎร

เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 ได้มีกลุ่มบุคคลที่เรียกว่า คณะราษฎร ได้ปฏิวัติเปลี่ยนแปลงรูปแบบการปกครอง จากสมบูรณาญาสิทธิราชมาเป็นราชาธิปไตยภายใต้รัฐธรรมนูญ เป็นเหตุการณ์ที่สร้างความเปลี่ยนแปลงทางการเมืองการปกครองแก่ประเทศไทยอย่างมาก และทำให้สถาบันพระมหากษัตริย์ที่เคยเป็นผู้ปกครองสูงสุดของประเทศมาช้านานต้องสูญเสียอำนาจส่วนใหญ่ไปในที่สุด โดยมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับ พ.ศ. 2475 ขึ้นเป็นรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยอย่างถาวรเป็นฉบับแรก

ภายหลังจากเหตุการณ์เปลี่ยนแปลงดังกล่าว การต่อสู้ทางการเมืองยังคงมีการต่อสู้กันระหว่างผู้นำในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราช กับระบอบใหม่ รวมทั้งความขัดแย้งในผู้นำระบอบใหม่ด้วยกันเอง โดยการต่อสู้ทางการเมืองและทางความคิดอุดมการณ์นี้ได้ดำเนินต่อเนื่องยาวนานเป็นเวลากว่า 25 ปีภายหลังจากการปฏิวัติ และนำไปสู่ยุคตกต่ำของคณะราษฎรในกาลต่อมา ทำให้การเปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าวถูกมองว่าเป็นพฤติการณ์ "ชิงสุกก่อนห่าม" เนื่องจากชาวไทยยังไม่พร้อมสำหรับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย อีกทั้งการปกครองในระยะแรกหลังการปฏิวัติยังคงอยู่ในระบอบเผด็จการทหาร
สงครามโลกครั้งที่สอง
ดูบทความหลักที่ สงครามโลกครั้งที่สองในประเทศไทย

ในระหว่างสงครามโลกครั้งที่สอง ได้มีการเดินขบวนเรียกร้องให้รัฐบาลเอาดินแดนคืนของนิสิตนักศึกษา จอมพลแปลก พิบูลสงคราม จึงส่งทหารข้ามแม่น้ำโขงและรุกรานอินโดจีนฝรั่งเศส จนได้ดินแดนคืนมา 4 จังหวัด ภายหลังการเข้าไกล่เกลี่ยของญี่ปุ่น โดยมีการรบที่เป็นที่รู้จักกันมาก ได้แก่ การรบที่เกาะช้าง

ต่อมา หลังจากการโจมตีกองทัพเรือสหรัฐอเมริกาที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ กองทัพญี่ปุ่นก็ได้รุกรานประเทศไทย โดยต้องการเคลื่อนทัพผ่านดินแดน รัฐบาลจอมพลแปลก พิบูลสงครามได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรกับญี่ปุ่น รวมทั้งลงนามในสนธิสัญญาพันธมิตรทางการทหารกับญี่ปุ่น และประกาศสงครามต่อสหรัฐอเมริกาและสหราชอาณาจักร ซึ่งนโยบายดังกล่าวของรัฐบาลถูกต่อต้านจากทั้งในและนอกประเทศ เนื่องจากไทยประสบกับภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ

หลังสงครามโลกครั้งที่สองสิ้นสุดลงในปี พ.ศ. 2488 แม้ว่าประเทศไทยจะตกอยู่ในสถานะประเทศผู้แพ้สงคราม แต่เนื่องจากการเคลื่อนไหวของขบวนการเสรีไทย ทำให้ฝ่ายสัมพันธมิตรยอมรับ และไม่ถูกยึดครอง เพียงแต่ต้องคืนดินแดนระหว่างสงครามให้กับอังกฤษและฝรั่งเศส และจ่ายค่าเสียหายทดแทนเท่านั้น
สงครามเย็น
ดูเพิ่มที่ คอมมิวนิสต์ในประเทศไทย, สงครามเกาหลี และ สงครามเวียดนาม

รัฐบาลไทยได้ดำเนินนโยบายเป็นพันธมิตรของสหรัฐอเมริกาในระหว่างสงครามเย็น ดังจะเห็นได้จากนโยบายต่อต้านการขยายตัวของคอมมิวนิสต์ในคาบสมุทรอินโดจีน และยังส่งทหารไปร่วมรบกับฝ่ายพันธมิตร ได้แก่ 
สงครามเกาหลี และสงครามเวียดนาม

ประเทศไทยประสบกับปัญหากองโจรคอมมิวนิสต์ในประเทศระหว่างคริสต์ทศวรรษ 1960 และ 1970 อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าวก็ไม่ค่อยจะส่งผลกระทบต่อความมั่นคงของประเทศสักเท่าไหร่ และกองโจรก็หมดไปในที่สุด
การพัฒนาประชาธิปไตย

หลังจากปัจจัยแวดล้อมด้านต่าง ๆ ได้รับการพัฒนาขึ้น ประชาชนมีความพร้อมต่อการใช้อำนาจอธิปไตยเพิ่มมากขึ้น การเรียกร้องอำนาจอธิปไตยคืนจากฝ่ายทหารก็เกิดขึ้นเป็นระยะ กระทั่งในที่สุด ภายหลังจากเหตุการณ์ 14 ตุลาคม พ.ศ. 2516 ฝ่ายทหารก็ไม่สามารถถือครองอำนาจอธิปไตยได้อย่างถาวรอีกต่อไป อำนาจอธิปไตยจึงได้เปลี่ยนไปอยู่ในมือของกลุ่มนักการเมือง ซึ่งประกอบด้วยกลุ่มบุคคลสามกลุ่มหลัก คือ กลุ่มทหารที่เปลี่ยนบทบาทมาเป็นนักการเมือง กลุ่มนายทุนและผู้มีอิทธิพล และกลุ่มนักวาทศิลป์ แต่ต่อมาภายหลังจากการสิ้นสุดลงของยุคสงครามเย็น โลกได้เปลี่ยนมาสู่ยุคการแข่งขันกันทางการค้าซึ่งมีความรุนแรงเป็นอย่างมาก กลุ่มการเมืองที่มาจากกลุ่มทุนนิยมสมัยใหม่ได้เข้ามามีบทบาทแทน

สมัยธนบุรี

สมัยธนบุรี



สมัยธนบุรี

หลังจากเสียกรุงศรีอยุธยาให้แก่พม่า ราษฎรไทยที่เหลือรอดจากการถูกกวาดต้อนตามเขตแขวงรอบๆ พระนครต่างก็ซ่องสุมผู้คน เข้ารบราฆ่าฟันเพื่อป้องกันตนเองและแย่งชิงเสบียงอาหารเพื่อความอยู่รอด กรุงศรีอยุธยาจึงอยู่ในสภาพจลาจล บ้านมืองแตกแยกออกเป็นก๊กเป็นเหล่า มีชุมนุมที่คิดจะรวบรวมผู้คนเพื่อกอบกู้เอกราชถึง 6 ชุมนุม ได้แก่ ชุมนุมเจ้าพิษณุโลก ชุมนุมเจ้าพระฝาง ชุมนุมสุกี้พระนายกอง ชุมนุมเจ้าพิมาย ชุมนุมเจ้านครศรีธรรมราชและชุมนุมพระเจ้าตาก ซึ่งต่อมาชุมนุมพระเจ้าตากสินเป็นกลุ่มกำลังสำคัญที่มีที่สามารถกอบกู้เอกราชได้สำเร็จ โดยตีค่ายโพธิ์สามต้นแตกขับพม่าออกไปได้

เมื่อสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงกอบกู้บ้านเมืองได้สำเร็จในปีพ.ศ.2310 ทรงปราบดาภิเษกขึ้นเป็นพระมหากษัตริย์ และโปรดเกล้าฯให้ปรับปรุงเมืองธนบุรีศรีมหาสมุทร ซึ่งตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณป้อมวิไชเยนทร์สถาปนาขึ้นเป็นราชธานี โปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชวังขึ้นเป็นที่ประทับและศูนย์กลางบริหารราชการแผ่นดิน ด้วยเหตุผลว่าเป็นเมืองที่มีป้อมปราการและชัยภูมิที่ดีทางยุทธศาสตร์ ขนาดของเมืองพอเหมาะกับกำลังไพร่พลและราษฎรในขณะนั้น โครงสร้างทางเศรษฐกิจสังคมสมัยธนบุรียังคงดำเนินรอยตามรูปแบบของอยุธยา ฐานะของพระมหากษัตริย์ยังคงไม่เปลี่ยนแปลง ยังยึดขัตติยราชประเพณีตามแบบฉบับของกรุงศรีอยุธยาเป็นสำคัญ เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจขณะนั้นอยู่ในสภาพที่ทรุดโทรมมาก จำเป็นที่จะต้องแก้ไขเร่งด่วน สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าโดยการสละพระราชทรัพย์ซื้อข้าวสารจากพ่อค้าชาวต่างประเทศ ด้วยราคาแพงเพื่อบรรเทาความขาดแคลน มีผลทำให้พ่อค้าชาวต่างประเทศบรรทุกข้าวสารลงเรือสำเภาเข้ามาค้าขายเป็นอันมาก ทำให้ราคาช้าวสารถูกลงและปริมาณเพียงพอแก่ความต้องการ นอกจากนั้นยังทรงใช้ให้บรรดาขุนนางข้าราชการขวนขวายทำนาปีละ 2 ครั้ง เพื่อเพิ่มผลผลิตข้าวให้เพียงพอแก่ความต้องการ เป็นตัวอย่างแก่ราษฎรทั้งปวง ทำให้ราษฎรมีความกินดีอยู่ดีมากขึ้น ในด้านการค้าชาวจีนที่มาตั้งหลักแหล่งค้าขาย และทำมาหากินในราชอาณาจักรได้มีส่วนสำคัญในการช่วยฟื้นฟูเศรษฐกิจของอาณาจักรธนบุรีน

ด้านการศาสนาและศิลปวัฒนธรรม สมัยธนบุรีเป็นสมัยของการฟื้นฟูชาติบ้านเมือง ทรงโปรดเกล้าฯให้ตั้งสังฆมณฑลตามแบบอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา เช่น ทรงจัดการชำระคณะสงฆ์ที่ไม่ตั้งอยู่ในศีลวัตร สร้างซ่อมแซมวัดวาอารามที่ตกอยู่ในสภาพทรุดโทรม แสวงหาพระสงฆ์ที่มีคุณธรรมความรู้มาตั้งเป็นพระราชาคณะเป็นเจ้าอาวาสปกครองสงฆ์และสั่งสอนปริยัติธรรมและภาษาไทย ส่งพระราชาคณะไปเที่ยวจัดสังฆมณฑลตามหัวเมืองเหนือ เพราะเกิดวิปริตครั้งพระเจ้าฝางตั้งตนเป็นใหญ่และทำสงครามทั้งๆที่เป็นพระสงฆ์ และทรงรวบรวมพระไตรปิฎกให้สมบูรณ์ครบถ้วน ศิลปกรรมต่างๆจึงยังคงดำเนินตามแบบอยุธยา เนื่องจากระหว่างรัชกาลมีศึกสงครามอยู่ตลอดเวลาทำให้ช่างฝีมือไม่มีเวลาในการที่จะสร้างสรรค์งานด้านศิลปะให้ก้าวกน้าออกไปจากเดิม

สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชทรงครองราชย์อยู่เป็นระยะเวลา 15 ปี เนื่องจากทรงมีพระราชภาระกิจทั้งทางด้านการกอบกู้บ้านเมืองซึ่งมีฐานะทางเศรษฐกิจตกต่ำจากภาวะการสงคราม และปกป้องบ้านเมืองซึ่งข้าศึกได้ยกเข้ามาตลอดรัชกาล ปลายรัชกาลได้ทรงมีพระสติฟั่นเฟือนในปี พ.ศ.2325 เจ้าพระยาจักรีซึ่งเป็นแม่ทัพสำคัญของสมเด็จพระเจ้าตากสิน จึงได้รับอัญเชิญให้ครองราชย์สมบัติสืบต่อมา 

การแบ่งยุคตามวิธีการดำรงชีวิต

การแบ่งยุคตามวิธีการดำรงชีวิต



2.1 สมัยชุมชนล่าสัตว์หรือ สังคมนายพราน ประมาณ 4,500 ปีขึ้นไป มนุษย์มีความเป็นอยู่ตามธรรมชาติไม่มีการตั้งหลักแหล่งหรือที่พักอาศัยถาวร ยังคงเร่ร่อนและดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์เป็นอาหารเป็นยุคที่มนุษย์ดำรงชีวิตด้วยการล่าสัตว์ จับสัตว์น้ำ เก็บอาหารที่ได้จากธรรมชาติ ยังไม่ตั้งบ้านเรือนที่อยู่อาศัยถาวร มักอพยพตามฝูงสัตว์
2.2 สมัยหมู่บ้านเกษตรกรรมหรือสังคมเกษตรกรรม เริ่มประมาณ 4,500 ปีมาแล้ว มนุษย์รู้จักการเพาะปลูก มีการตั้งหลักแหล่งอยู่รวมกันเป็นชุมชนขนาดเล็ก สามารถผลิตเครื่องมือเครื่องใช้ที่จำเป็นภายในชุมชนของตน เช่น การทำภาชนะดินเผา การทอผ้า ฯลฯ และมีการประกอบพิธีกรรมเกี่ยวกับความตายเป็นยุคที่มนุษย์รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ยังคงมีการล่าสัตว์ จับสัตว์น้ำ และเก็บอาหารที่ได้จากธรรมชาติ มักจะตั้งบ้านเรือนถาวรบนพื้นที่ที่เหมาะแก่การเกษตรกรรม มีการรวมกลุ่มเป็นหมู่บ้าน เป็นเมือง มีการแลกเปลี่ยนผลผลิต และมีระบบการปกครองในสังคม

2.3 สมัยสังคมเมือง ประมาณ 2,500 ปีมาแล้ว มนุษย์ตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนในบริเวณพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ เกิดการพัฒนาการด้านต่างๆ จนกลายเป็นบ้านเมือง มีการติดต่อค้าขายกับชุมชนอื่น

-สมัยลพบุรี

-สมัยสุโขทัย

- สมัยรัตนโกสินทร์

-สมัยธนบุรี

-สมัยอยุธยา 

สรุปยุคก่อนประวัติศาสตร์สากล

สรุปยุคก่อนประวัติศาสตร์สากล



สรุปยุคก่อนประวัติศาสตร์สากล
ตามหลักสากล ยุคประวัติศาสตร์จะเริ่มนับตรงที่มนุษย์เริ่มมีการจดบันทึกเหตุการณ์อย่าง เป็นลายลักษณ์อักษร ส่วนก่อนหน้านั้นก็จะเรียกว่ายุคก่อนประวัติศาสตร์

ยุคก่อนประวัติศาสตร์ตราบจนถึงทุกวันนี้ก็ยังไม่มีอะไรแน่นอน ยังมีข้อถกเถียงกันอยู่เยอะมาก เพราะมีเพียงแค่หลักฐานทางวัตถุบางชิ้น และก็ไม่ค่อยจะสมบูรณ์เท่าไหร่ด้วย

ส่วนยุคประวัติศาสตร์นั้น ค่อนข้างชัดเจนกว่า แต่ก็ใช่ว่าจะทั้งหมด เพราะเมื่อมีการศึกษาประวัติศาสตร์กันมากขึ้น ก็ทำให้รู้ว่าเราเคยเข้าใจผิดอะไรหลาย ๆอย่างมานาน และต้องเปลี่ยนความเข้าใจทางประวัติศาสตร์กันใหม่อยู่หลายครั้งก็มี

การแบ่งสมัยในยุคประวัติศาสตร์จะแบ่งโดยใช้เหตุการณ์สำคัญที่ถือเป็นจุด เปลี่ยนของยุคสมัยเป็นตัวแบ่ง ซึ่งมีคนแบ่งเอาไว้หลายแนวทาง เพราะมันไม่มีเส้นแบ่งที่ชัดเจนให้เราเห็น แต่ส่วนใหญ่จะแบ่งออกเป็น

ประวัติศาสตร์สมัยโบราณ (Ancient History) สมัย นี้นักประวัติศาสตร์มักจะรวมเอาเหตุการณ์ในยุคก่อนประวัติศาสตร์เข้าไปด้วย สมัยนี้ส่วนมากมักจะให้สิ้นสุดลงพร้อมกับการล่มสลายของอาณาจักรโรมันตะวันตก ซึ่งเสียให้แก่เยอรมันในปีค.ศ. 476

ประวัติศาสตร์สมัยกลาง (Medieval History) เริ่มเมื่อปีค.ศ. 476 แต่ระยะเวลาสิ้นสุดนั้น บางกลุ่มถือเอาตอนที่กรุงสแตนติโนเปิลตกเป็นของพวกเติร์ก ในปีค.ศ.1453 แต่บางกลุ่มก็ถือว่าสิ้นสุดเมื่อมีการค้นพบทวีปอเมริกา ในปีค.ศ. 1492 และบางกลุ่มก็ถือว่าสิ้นสุดลงพร้อมกับการเริ่มต้นการปฏิรูปต่างๆ ในยุโรป

ประวัติศาสตร์สมัยใหม่ (Modern History) เริ่มตั้งแต่การสิ้นสุดของประวัติศาสตร์สมัยกลางจนถึงปัจจุบัน แต่ก็มีบางกลุ่มที่ถือว่าสมัยนี้สิ้นสุดในราวค.ศ.1900 และได้แบ่งออกเป็นอีกสมัยหนึ่งคือ ประวัติศาสตร์สมัยปัจจุบัน เริ่มตั้งแต่สิ้นสุดประวัติศาสตร์สมัยใหม่จนถึงปัจจุบัน เพราะระยะช่วงนี้เกิดเหตุการณ์ที่สำคัญ ๆ ขึ้นมากมาย มีรายละเอียดที่มากจนสามารถแบ่งออกเป็นอีกสมัยหนึ่งได้

ส่วนเรื่องของหลักฐานทางประวัติศาตร์นั้น มีการแบ่งหลักฐานทางประวัติศาสตร์ออกเป็น 2 ประเภทคือ หลักฐานที่เป็นวัตถุ (Material Remains) กับหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษร (Written accounts)

ก่อน 4,000 ปีมาแล้ว หรือในยุคก่อนประวัติศาสตร์ ก็จะมีแต่หลักฐานแบบแรกเพียงอย่างเดียว ก็ต้องใช้การสันนิษฐานประกอบเข้าไปจึงจะมองเห็นสภาพของยุคนั้นได้ ในยุคต่อมาคือยุคประวัติศาสตร์ถึงจะมีหลักฐานแบบที่สอง ซึ่งจะชัดเจนถูกต้องหรือไม่ก็ต้องขึ้นอยู่กับผู้จดบันทึกด้วย

หลักฐานทั้ง 2 ประเภทถ้าเราสามารถหามาประกอบกันได้ก็จะยิ่งทำให้เราสันนิษฐานสภาพทั่วไปและ เหตุการณ์ที่เกิดในยุคสมัยนั้นได้ชัดเจนยิ่งขึ้น 

ยุคหินใหม่

ยุคหินใหม่



ยุคหินใหม่

เป็นยุคที่ใช้เครื่องมือหินขัด มีการทำเครื่องปั้นดินเผาขึ้นใช้ สมัยหินใหม่ พบหลักฐานการใช้เครื่องมือแบบขวานหินขัด(Polish Axes/ Ads) ทั้งแบบมีบ่าและไม่มีบ่า บางครั้งชาวบ้านเรียกว่าขวานฟ้า เพราะมักพบตามหัวไร่ปลายนาหลังถูกน้ำฝนชะล้าง คนสมัยนี้รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แล้ว รู้จักการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนตามเนินดินค่อนข้างสูง หรือริมฝั่งแม่น้ำชันๆ เช่น แม่น้ำแควใหญ่ แม่น้ำแควน้อย จ.กาญจนบุรี พบหลักฐานโครงกระดูกแพร่กระจายทั่วไปในประเทศไทย เช่น แหล่งโบราณคดีบ้านเก่า จ.กาญจนบุรี แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง จ.อุดรธานี (ภาชนะลายเขียนสีบ้านเชียง) แหล่งโบราณคดี อ.โคกเจริญ จ.ลพบุรี ฯลฯ คนสมัยนี้นิยมใส่ภาชนะดินเผาบรรจุอาหาร เครื่องมือหินและเครื่องประดับจากหิน กระดูกหรืองาช้าง ลงในหลุมศพด้วย

มนุษย์ในสมัยนี้เริ่มรู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์สำหรับใช้งานและเป็นอาหาร จึงไม่ต้องเร่ร่อนเก็บของป่าล่าสัตว์ สามารถตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนเป็นหลักแหล่งทำให้มีเวลาว่างมากขึ้น การประดิษฐ์เครื่องมือหินจึงมีความประณีตมากขึ้น โดยมีการฝนผิวเครื่องมือหินจนเรียบ เรียกว่า “เครื่องมือหินขัด” รู้จักใช้ไฟ มีการทำเครื่องปั้นดินเผา และรู้จักหุงต้ม อาหารให้สุกก่อนกิน สมัยนี้มีอายุประมาณ 8,000-3,000 ปี

ทั้งสมัยหินเก่า สมัยหินกลางและสมัยหินใหม่นี้ เราสามารถเรียกแบบรวม ๆ กันว่า “ยุคหิน” เนื่องจากเป็นช่วงเวลาที่ มนุษย์ใช้เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินเช่นเดียวกัน

สรุปสำคัญ

ยุคหินใหม่

1. อายุประมาณ 4 พันปีก่อนคริสต์ศักราช

2. ผลิตอาหารได้เอง รู้จักเก็บกักอาหาร หยุดเร่ร่อน

3. เครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินประณีตขึ้น

4. รู้จักการทอผ้า เครื่องปั้นดินเผา ทำเครื่องทุ่นแรง เช่น การเสียดสีให้เกิดไฟ การประดิษฐ์เรือ

5. รวมกลุ่มเกษตรกรรมเป็นหมู่บ้าน มีการจัดระเบียบเพื่อควบคุมสังคม มีหัวหน้าชุมชน

6. อนุสาวรีย์หิน (Stonechenge) ซึ่งถือเป็นการเริ่มต้นงานสถาปัตยกรรมของมนุษย์ เชื่อว่าสร้างเพื่อคำนวณทางดาราศาสตร์ พิธีกรรมทางศาสนาที่เกี่ยว ข้องกับการเกษตรหรือบูชาพระอาทิตย์



สังคมมนุษย์ยุคหินใหม่

คนในยุคหินใหม่ได้เริ่มปฏิวัติการครองชีพด้วยการเปลี่ยนวิถีชีวิตจากการล่าสัตว์และหาขอป่า
มาเลี้ยงสัตว์มาทำการเพราะปลูกแทน ถือเป็นการปฏิวัติทางสังคมและเศรษฐกิจครั้งสำคัญของ
มนุษยชาติ การเปลี่ยนวิถีชีวิตมาเป็นเกษตรกรดังกล่าว นอกจากจะทำให้คนต้องหันมาเลี้ยงสัตว
์และฝึกหัดสัตว์ให้เชื่องแล้ว คนยังต้องเรียนรู้การไถหว่าน และเก็บเกี่ยวพืช เช่น ลูกเดือย ข้าวสาลี ข้าวโพด อีกด้วย
สภาพสังคมขณะนั้นพบว่า ผู้คนต้องหักร้างถางพงสำหรับการเพาะปลูกมีการทำคอกสำหรับ
ขังสัตว์และสร้างที่พักอาศัยอยู่ถาวรแทนการเร่ร่อน อาศัยอยู่ในถ้ำเช่นคนหินเก่า เมื่อหลายครอบ
ครัวอาศัยอยู่รวมกันเป็นหมู่บ้านจึงถือว่าหมู่บ้านเกษตรกรเหล่านี้คือหมู่บ้านแห่งแรกของโลก
เทคโนโลยีของคนในยุคหินใหม่ทำขึ้นจากวัสดุหลายชนิด เช่น หิน กระดูก และเขาสัตว์ที่แตก
ต่างจากคนในยุคหินเก่า คือ เครื่องมือเครื่องใช้เหล่านั้นมีประโยชน์ใช้สอยและประณีตมากขึ้น
เครื่องมือที่สำคัญคือ ขวานหินด้วยเป็นไม้ และเคียวกินเหล็กไฟ เป็นต้นนอกจากนี้ยังสร้างงาน
หัตถกรรมในครัวเรือนอีกหลายอย่างได้แก่ เครื่องปั่นด้าย เครื่องทอผ้าเครื่องจักสานและเครื่องปั้น
ดินเผาซึ่งมักทำขึ้นมักทำขึ้นอย่างหยาบ ๆ ไม่มีการตกแต่งลวดลายมากนัก


ในด้านศิลปะพบว่า คนในยุคหินใหม่มีการปั้นรูปสตรีและทารก
ลักษณะคล้ายรูปแม่พระธรณี อันเป็นสัญลักษณ์แห่งความอุดม
สมบูรณ์ของพืชพันธ์ธัญญาหาร ชุมชนยุคหินใหม่ที่เก่าแก่ที่สุดใน
ตะวันออกกลางบริเวณที่เป็นประเทศ ตุรกี ซีเรีย อิสราเอล อิรัก
ภาคตะวันออกของอิหร่าน และเลยไปถึงอียิปต์ในทวีปแอฟริกา
ในปัจจุบัน จากหลักฐานทางโบราณคดีแสดงว่า คนที่อยู่ในบริเวณ
ดังกล่าวได้ค้นพบวิธีการเกษตรกรรมมาประมาณ 7,000 ปีมาแล้ว
และดูเหมือนว่ารากฐานความรู้ทางเกษตรกรรมของชาวยุโรปก็รับ
ไปจากบริเวณนี้

ยุคหินกลาง

ยุคหินกลาง



ยุคหินกลาง

ยุคหินกลาง (Mesolihic Period หรือ Middle Stone Age) ประมาณ 10,000-5,000 ปีล่วงมาแล้วมนุษย์ในช่วงเวลานี้เริ่มมีการนำวัสดุธรรมชาติมาใช้ประโยชน์ เช่น ทำตะกร้าสาน ทำรถลาก และเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินก็มีความประณีตมากขึ้น ตลอดจนรู้จักนำสุนัขมาเลี้ยงเป็นสัตว์เลี้ยง

ในสมัยยุคหินกลาง มนุษย์รู้จักการสร้างเครื่องยนต์และเริ่มมีทำนาพืช แต่อาชีพหลักของมนุษย์ในสมัยนี้ยังคงเป็นการล่าสัตว์ และยังเร่ร่อนไปตามแหล่งสมบูรณ์ โดยมักตั้งหลักแหล่งอยู่ตามแหล่งน้ำ ชายฝั่งทะเล ประกอบอาชีพประมง ล่าสัตว์และบริเวณที่มีความอุดมสมบูรณ์

ยุคหินกลาง ไม่พบหลักฐานในประเทศไทย สมัยหินกลาง ใช้เครื่องมือขวานหินกะเทาะทรงโดมแบบสับตัด(Chopper Chopping Tools) เครื่องมือแบบขูด(Scrapper) เครื่องสะเก็ดหินแบบฮัวบิห์เนียน เครื่องมือแบบสุมาตราลิธ(Sumatralithลักษณะเป็นแผ่นค่อนข้างแบนยาวเกือบเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า) คนสมัยหินกลางอาศัยอยู่ในถ้ำ ในประเทศไทยพบที่ถ้ำผี ถ้ำปุงฮุง จ.แม่ฮ่องสอน และถ้ำในภาคใต้ บางแหล่งรู้จักการเพาะปลูกและทำเครื่องปั้นดินเผา ยังไม่พบร่องรอยโครงกระดูกมนุษย์สมัยนี้ในประเทศไทย

มนุษย์ในช่วงเวลานี้มีการพัฒนาขึ้นจากยุคหินเก่า จับปลาและล่าสัตว์เก่งกว่า เริ่มรู้จักการเพาะปลูกแบบง่าย ๆ มีการปรับ ปรุงการทำเครื่องมือหินกะเทาะให้มีความประณีตมากขึ้นและมีการใช้สะเก็ดหินทำเครื่องมือด้วย รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา มีการประกอบพิธีกรรมในการฝังศพ สมัยนี้มีอายุประมาณ 10,000-8,000 ปี



สรุปสำคัญ

ยุคหินกลาง (Mesolithic Age หรือ Middle Stone Age)

1. อายุประมาณ 8 พันปีก่อนคริสต์ศักราช

2. เริ่มรู้จักเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์แบบง่ายๆ

3. ภาพจิตรกรรมผนังถ้ำมีความซับซ้อนมากขึ้น จุดมุ่งหมายเพื่อพิธีกรรมความเชื่อเรื่องวิญญาณ

4. มีพิธีกรรมเกี่ยวกับพระ 

ยุคหินเก่า

ยุคหินเก่า



ยุคหินเก่า

เป็นช่วงเวลาที่มนุษย์ยังดำรงชีวิตอยู่ด้วยการเร่ร่อนเก็บของป่าและล่าสัตว์มาเป็นอาหาร อาศัยอยู่ตามถ้ำแต่ไม่ถาวร เนื่อง จากต้องย้ายถิ่นเพื่อแสวงหาแหล่งอาหารไปเรื่อย ๆ เพราะยังไม่รู้จักการเพาะปลูกและเลี้ยงสัตว์ ไม่รู้จักทำเครื่องปั้นดินเผา

เป็นยุคที่ใช้เครื่องมือหินกะเทาะอย่างหยาบๆ สมัยหินเก่าพบหลักฐานเครื่องมือหินกรวดแม่น้ำ(Pebble Tools)ขนาดใหญ่ที่ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย อ.แม่ทะ จ.ลำปาง แต่ยังไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจนเกี่ยวกับการค้นพบโครงกระดูกมนุษย์สมัยหินเก่า คนสมัยนี้ดำรงชีวิตอยู่ด้วยการเก็บของป่าล่าสัตว์(Hunting Gathering) ไม่รู้จักการเพาะปลูก หรือทำเครื่องปั้นดินเผา

ยุคหินเก่า (Paleolithic Period หรือ Old Stone Age) ประมาณ 500,000 ปีล่วงมาแล้ว มนุษย์ในยุคนี้เริ่มทำเครื่องมือเครื่องใช้ด้วยหินอย่างง่ายก่อน เมื่อเวลาผ่านไปก็สามารถดัดแปลงให้เหมาะสมกับการใช้งาน เครื่องมือหิน มนุษย์ใช้วัสดุจำพวกหินไฟ ซึ่งในยุคนี้สามารถแบ่งเครื่องมือสมัยเก่าออกเป็น 3 ช่วงได้แก่
หลักฐานในสมัยยุคหินเก่าตอนต้น ได้แก่ โครงกระดูกของมนุษย์ในสมัยนั้น ในทวีปยุโรปมีการค้นพบมนุษย์ไฮเดลเบิร์ก (Heidelberg) มนุษย์สไตนไฮน์ (Steinheim) ในทวีปเอเชียมีการค้นพบมนุษย์ชวา (java Man) และมนุษย์ปักกิ่ง (Peking Man) ในทวีปแอฟริกามีการค้นพบมนุษย์โฮโมอิเรกตุส (Homoerectus) นอกจากนี้ยังมีหลักฐานประเภทโครงกระดูกของสัตว์ที่มนุษย์กินเป็นอาหาร ซึ่งสามารถบอกให้เราทราบถึงสภาพแวดล้อมของมนุษย์ในขณะนั้นได้ และหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำด้วยหินมีลักษณะเป็นขวานกระเทาะแบบกำปั้น
หลักฐานในสมัยยุคหินเก่าตอนกลาง ได้แก่ โครงกระดูกของมนุษย์ที่มีลักษณะคล้ายกับมนุษย์ปัจจุบันมากขึ้น เช่น โครงกระดูกมนุษย์นีแอนเดอธัลในประเทศฝรั่งเศส นอกจากนี้ยังมีหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีลักษณะแหลมคมมากขึ้น มีด้ามยาวมากขึ้นและมีประโยชน์ในการใช้สอยมากขึ้น และยังมีหลักฐานพฤติกรรมทางสังคม เช่น หลักฐานการประกอบพิธีฝังศพ
หลักฐานในสมัยยุคหินเก่าตอนปลาย ได้แก่ โครงกระดูกมนุษย์ที่ค้นพบในยุโรป เช่น โครงกระดูกมนุษย์โครมันยอง (Cor-Magon) มนุษย์กริมัลติ (Grimaldi) และมนุษย์ชานเซอเลต (Chanceled) นอกจากนี้ยังมีหลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ที่มีลักษณะหลายประเภทกว่ายุคก่อน ได้แก่ หลักฐานเครื่องมือเครื่องใช้ที่ทำจากหินและกระดูกสัตว์โดยการแกะสลัก เช่น เข็มเย็บผ้า ฉมวก หัวลูกศร คันเบ็ด และเครื่องประดับทำด้วยเปลือกหอยและกระดูกสัตว์







สรุปสำคัญ

ยุคหินเก่า (Paleolithic Age หรือ Old Stone Age)

1. อายุประมาณ 2 ล้านปีก่อนคริสต์ศักราช

2. ดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์และเก็บผลไม้ป่า

3. อาศัยตามถ้ำหรือที่พักหยาบๆ

4. พึ่งพาธรรมชาติและไม่เข้าใจปรากฎการณ์ธรรมชาติ

5. รู้จักใช้ไฟ

6. ประกอบพิธีฝังศพอันเป็นจุดเริ่มต้นของศาสนา

7. ภาพจิตรกรรมผนังถ้ำตามความเชื่อและพิธีกรรม



สังคมมนุษย์ยุคหินเก่า

ยุคหินเก่าแบ่งเป็นยุคย่อย ๆ ได้ 3 ระยะ ได้แก่ ยุคหินเก่าตอนต้น ยุคหินเก่าตอนกลาง และยุคหิน
เก่าตอนปลาย คนในยุคหินเก่าดำรงชีพด้วยการล่าสัตว์ และเสาะแสวงหาพืชผักผลไม้กินเป็นอาหารมีการ
พึ่งพาอาศัยธรรมชาติ และสภาวะแวดล้อมอย่างเต็มที่ กล่าวคือ เมื่อฝูงสัตว์ที่ล่าเป็นอาหารหมดลงก็ต้อง
อพยพย้ายถิ่นติดตามฝูงสัตว์ไปเรื่อย ๆ การที่มนุษย์จำเป็นต้องแสวงหาถิ่นที่อยู่ใหม่เพราะต้องล่าสัตว์ดังกล่าว
อาจทำให้คนต้องปรับพฤติกรรมการบริโภคไปในตัวด้วย เนื่องจากชีวิตส่วนใหญ่ของคนในยุคหินเก่าต้องอยู่
กับการแสดงหาอาหารและการป้องกันตัวจากสัตว์ร้ายและภัยธรรมชาติรวมถึงการต่อสู้ในหมู่พวกเดียวกันเพื่อ
การอยู่รอด จึงทำให้ต้องพัฒนาเกี่ยวกับเครื่องมือล่าสัตว์ โดยการพัฒนาอาวุธที่ทำด้วยหินสำหรับตัด ขูดหรือ สับ เช่น หอก มี และเข็ม เป็นต้น
ระบบความสัมพันธ์ทางสังคมพบว่า คนในยุคหินเก่าเริ่มอยู่กันเป็นครอบครัว แล้ว แต่ยังไม่มีการ
อยู่ร่วมกันเป็นชุมชนอย่างแท้จริง เพราะวิถีชีวิตแบบเร่ร่อนไม่เอื้ออำนวยให้มีการตั้งหลักแหล่งถาวรขณะ
เดียวกันองค์กรทางเมืองการปกครองก็ยังไม่เกิดขึ้น สังคมจึงมีสภาพเป็นอนาธิปัตยคือไม่มีผู้เป็นใหญ่แน่นอน
ผู้ที่มีอำนาจมักเป็นผู้ที่มีความแข็งแรงเหนือผู้อื่น

นอกจากนี้ยังพบว่า คนในยุคนี้เริ่มรู้จักแสดงความรู้สึกออกมาในรูปของศิลปะบ้างแล้ว ศิลปะที่
ี่สำคัญได้แก่รูปเขียนกระทิงเรียงกันเป็นขบวน ขุดค้นพบภายในถ้ำอัลตะมิระ ทางตอนใต้ของสเปนและ
ภาพสัตว์ส่วนใหญ่เป็นภาพสัตว์ที่คนสมัยนั้นล่าเป็นอาหาร มีวัดกระทิง ม้าป่า กวางแดง และกวางเรน
เดียร์ เป็นต้น พบถ้ำสาบโก ในประเทศฝรั่งเศส ส่วนประเทศไทย พบที่ถ้ำตาด้วง จังหวัดกาญจนบุรี ภูพระ
-บาท จังหวัดอุดรธานี และถ้ำผีหัวโต จังหวัดกระบี่ เป็นต้น
สังคมของมนุษย์ยุคหินเก่าตอนกลาง และยุคหินเก่าตอนปลาย มีระยะเวลาที่สั้น ปรากฏอารย
-ธรรมเกิดขึ้นในทวีปยุโรป แอฟริกาและเอเชีย สภาพชีวิตความเป็นอยู่ของคนยุคหินเก่าตอนกลางส่วน
มากคล้ายกับยุคกินเก่าตอนต้นแต่ก็พบว่าคนยุคกินเก่าตอนกลางบางแห่งมีพัฒนาการมากขึ้น
มีการพบหลักฐานแสดงว่า คนยุคหินเก่าในช่วงปลายมีความสามารถในการจับสัตว์น้ำได้ดีและมีการ
ีคมนาคมทางน้ำเกิดขึ้นแล้ว เทคโนโลยีของยุคกินเก่าตอนปลายจะมีขนาดเล็กกว่ายุคหินเก่าตอนต้นและ
ประโยชน์ใช้สอยดีขึ้นกว่าเดิม คนยุคหินเก่าตอนกลางจะมีวัฒนธรรมแบ่งออกเป็น 2 กลุ่ม คือ
กลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่บนภูเขา ตามถ้ำ หรือเพิงผา ส่วนอีกกลุ่มหนึ่งอาศัยอยู่บนพื้นราบ ริมน้ำหรือ
ชายทะเล

ระบบการเมืองของประเทศไทย

ระบบการเมืองของประเทศไทย
 
ระบบการเมืองการปกครอง
เป็นแบบแผนความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์ ซึ่งก่อให้เกิดข้อตกลงใจที่มีอำนาจบังคับในสังคม

     ทุกระบบจะปรากฎลักษณะสำคัญเบื้องต้นร่วมกันดังนี้
     
1.1 หลักการสำคัญ เป็นกฎเกณฑ์ในการจัดตั้งองค์การหรือในการดำเนินการตาม กระบวนการเพื่อกำหนดลักษณะ ให้เป็นไปในแนวหนึ่ง
     
1.2 อุดมการณ์ หมายถึง ความเชื่อมั่นศรัทธาในคุณค่าอย่างใดอย่างหนึ่งหรือหลายอย่าง
      
1.3 รูปแบบแห่งโครงสร้าง หมายถึง การกำหนดสถานภาพเพื่อให้สอดคล้องกับหลักการ      อุดมการณ์

     
 การแบ่งระบอบการเมืองโดยพิจารณาจากอำนาจอธิปไตย

     1. การปกครองโดยคนคนเดียว (Government of One) คือ บุคคลผู้เดียวเป็นผู้ใช้อำนาจสูงสุด  มี 2 แบบ คือ

         1.1 สมบูรณาญาสิทธิราช (Absolute Monarchy) สืบทอดตำแหน่งโดยการสืบสันตติวงศ์

         1.2 เผด็จการ (Dictatorship) ผู้ปกครองเรียกว่า ผู้เผด็จการ มีอำนาจเด็ดขาดเช่นเดียวกับกษัตริย์ อาจจะได้อำนาจทางการเมืองมาโดย การปฏิวัติยึดอำนาจ หรือ ได้รับเลือกตั้งจากประชาชน

     2. การปกครองโดยคนส่วนน้อย ( Government of Many) หรือการปกครองแบบประชาธิปไตย ประชาชนเป็นผู้ใช้อำนาจอธิปไตย โดยการเลือกตั้งผู้แทนราษฎรไปบริหารประเทศ หากไม่พอใจก็อาจเรียกอำนาจกลับคืนมาได้

รัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทย

รัฐธรรมนูญแห่งประเทศไทย
 

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มหิตลาธิเบศรรามาธิบดี จักรีนฤบดินทรสยามินทราธิราช บรมนาถบพิตร ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้ประกาศว่าโดยที่ประเทศไทยได้มีรัฐธรรมนูญประกาศใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศตามระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข มาเป็นเวลากว่าหกสิบห้าปีแล้ว ในช่วงระยะเวลาดังกล่าว ได้มีการยกเลิกและแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญหลายครั้ง แสดงว่ารัฐธรรมนูญย่อมเปลี่ยนแปลงได้ตามความเหมาะสม แห่งกาลเวลาและสภาวการณ์ของบ้านเมือง รัฐธรรมนูญจะต้องกำหนดกฎเกณฑ์สำคัญที่กระจ่างแจ้ง ชัดเจน สามารถใช้เป็นหลักในการปกครองประเทศและเป็นแนวทางในการจัดทำกฎหมาย ประกอบรัฐธรรมนูญและกฎหมายอื่นซึ่งสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญได้ และโดยที่รัฐธรรมนูญแห่งราชาอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๖) พุทธศักราช ๒๕๓๙ ได้บัญญัติให้มีสภาร่างรัฐธรรมนูญขึ้น ประกอบด้วยสมาชิกที่ได้รับเลือกตั้งจากรัฐสภาจำนวนเก้าสิบเก้าคน มีหน้าที่จัดทำร่างรัฐธรรมนูญฉบับใหม่ทั้งฉบับเพื่อเป็นพื้นฐาน สำคัญในการปฏิรูปการเมือง และได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมาชิกสภาร่างรัฐธรรมนูญ เข้าเฝ้าทูลละอองธุลีพระบาทรับพระราชทานกระแสพระราชดำรัสเพื่อเป็นสิริมงคลแก่การทำงาน ภายหลังจากนั้น สภาร่างรัฐธรรมนูญได้จัดทำร่างรัฐธรรมนูญ โดยมีสาระสำคัญเป็นการส่งเสริมและคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการปกครองและตรวจสอบการใช้อำนาจรัฐเพิ่มขึ้น ตลอดทั้งปรับปรุงโครงสร้างทางการเมืองให้มีเสถียรภาพและประสิทธิภาพยิ่งขึ้น ทั้งนี้ โดยได้คำนึงถึงความคิดเห็นของประชาชนเป็นสำคัญ และได้ดำเนินการตามขั้นตอนที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๓๔ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ ๖) พุทธศักราช ๒๕๓๙ แล้ว ทุกประการ

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง (28 มิถุนายน พ.ศ. 2475)

การเปลี่ยนแปลงการปกครอง (28 มิถุนายน พ.ศ. 2475)
 
การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยใน พ.ศ. ๒๔๗๕ นั้น ก็นับว่าเป็นประเทศแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และเป็นเหตุการณ์ที่มีความสำคัญยิ่งในประวัติศาสตร์การปกครองของชาติไทย เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงจากระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ที่ใช้มายาวนานกว่า ๗๐๐ ปี มาเป็นระบอบประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขภายใต้รัฐธรรมนูญ
คณะราษฎรซึ่งเป็นคณะผู้นำการเปลี่ยนแปลงการปกครอง คงจะมีเจตนาที่จะสถาปนาระบอบประชาธิปไตยแบบตะวันตกด้วยความจริงใจ จะเห็นได้จากการเปลี่ยนแปลงระบบและกระบวนการทางการเมือง เช่น การประกาศใช้รัฐธรรมนูญ การจัดตั้งรัฐสภา ฯลฯ แต่มิได้นำหลักการประชาธิปไตยมาปฏิบัติอย่างครบวงจร ตัวอย่างเช่น มิได้มีการให้ความ สำคัญเกี่ยวกับจุดมุงหมายหรือหลักการแนวความคิดพื้นฐานของความเป็นประชาธิไตย มิได้มีการกระจายอำนาจการปกครองส่วนหลางสู่ส่วนภูมิภาค และท้องถิ่นอย่างจริงจัง อีกทั้งลักษณะวัฒนธรรมทางการเมืองยังมีลักษณะยึดถือตัวบุคคลมากกว่าหลักการของเหตุผล จึงเป็นการเปลี่ยนแปลงแต่เพียงรูปแบบมากกว่าการเปลี่ยนแปลงเนื้อหา
นอกจากนี้ โครงสร้างทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ก็มิได้มีการเปลี่ยนแปลงให้เป็นรากฐานของการพัฒนาประชาธิปไตย กล่าวอีกนัยหนึ่งก็คือ คณะราษฎรก็มิได้เตรียมการที่พอดี สภาพแวดล้อมทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคม ก็ไม่สู้จะเอื่ออำนวยต่อการพัฒนาการเมืองไทย การเปลี่ยนแปลงการปกครองดังกล่าวจึงมิได้เกิดจากการตื่นตัวของประชาชนชาวไทยอย่างแท้จริง
ด้วยเหตุนี้ การเปลี่ยนแปลงทางการเมืองของไทยใน พ.ศ.๒๔๗๕ แม้จะเป็นการเปลี่ยนแปลงที่มีความสำคัญยิ่ง แต่ก็มิไดนำประเทศชาติไปสู่ความเป็นประชาธิปไตยอย่างต่อเนื่อง ยังคงวนเวียนอยู่กับการร่างรัฐธรรมนูญฉบับแล้วฉบับเล่า การปฏิวัติรัฐประหาร และการก่อการกบฏยังคงวนเวียนเป็นวัฏจักร อีกทั้งยังมีการจัดตั้งรัฐบาลเผด็จการและประชาธิปไตยสลับกันไป อันเป็นปัญหารื้อรังที่น่าจะนำไปสู่ข้อสรุปที่ว่า อีกนานเท่าใดประชาชนไทยจะร่วมแรงร่วมใจกันอย่างจริงใจที่จะเสียสละเข้าไปมีส่วนร่วมและมีบทบาทในกระบวนการเสริมสร้างระบอบประชาธิปไตยในประเทศไทยให้มั่นคงสภาพรตลอดไป การเปลี่ยนแปลงการปกครองของไทยใน พ.ศ. ๒๔๗๕ จึงได้สะท้อนให้เห็นถึงวิธีการแก้ปัญหาของบรรพบุรุษไทยได้เป็นอย่างดี การที่คณะราษฎรผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองมิได้ใช้ความรุนแรงในการก่อการยึดอำนาจ เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕ เพื่อให้บรรลุเป้าหมายของพวกตนก็ดี หรือการที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่กัวมิได้ทรงใช้กำลังตอบโต้คณะราษฎรอย่างรุนแรงทั้งที่พระองค์มีโอกาสทำเช่นนั้นได้ แต่กลับทรงยินยอมรพะราชทานรัฐธรรมนูญให้กับปวงชนชาวไทยตามที่คณะราษฎรเรียกร้อง จึงเป็นตัวอย่างที่ชี้ให้เห็นถึงกระบวนการในการแก้ปัญหาของชาติด้วยหลักจริยธรรมและคุณธรรม เพราะทุกฝ่ายต่างคำนึงถึงความเดือดร้อนของประชาชนและต่างก็ไม่ต้องการให้คนไทยต้องสูญเสียเลือดเนื้อโดยไม่จำเป็น
การที่คณะราษฎรผู้ก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองล้วนแล้วแต่เป็นผู้ที่ผ่านการศึกษามาจากประเทศตะวันตก สะท้อนให้เห็นถึงอิทธิพลของความก้าวหน้าททางวิทยาการจากโลกตะวันตกที่จะมีผลต่อการดำเนินชีวิตของคนไทยในโลกสมัยใหม่ในยุคหลังต่อมา และการที่คณะราษฎรซึ่งประกอบด้วยทหารบก ทหารเรือ และพลเรือน ได้ร่วมมือร่วมใจเสี่ยงต่อการตายก่อการเปลี่ยนแปลงการปกครองจนเป็นผลสำเร็จ สะท้อนให้เห็นถึงความร่วมมือพึ่งพาอาศัยกันของบุคคลทุกฝ่าย ที่จะแก้ปัญหาของชาติและพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้าต่อไป เพราะถ้าขาดความร่วมมือและพึ่งพาอาศัยกันแล้ว คณะราษฎรก็คงจะเกิดขึ้นมาไม่ได้ และการเปลี่ยนแปลงการปกครองก็ไม่ประสบผลสำเร็จ
การที่พระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงยอมสละราชอำนาจในระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ให้กับปวงชนชาวไทยด้วยความเต็มพระราชหฤทัย และการที่คณะราษฎรยอมเสียสละความสุขส่วนตัว และยอมเสี่ยงต่ออันตรายที่จะเกิดขึ้นกับชีวิตของตนและครอบครัวถ้าแผนการเปลี่ยนแปลงไม่ประสบผลสำเร็จ แสดงให้เห็นความพยายามของบรรพบุรุษไทยในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคมไทยให้เจริญก้าวหน้าที่ทุกฝ่ายได้ตั้งใจเอาไว้อันเป็นแบบฉบับของการแก้ไขปัณหาที่คนรุ่นหลังต้องยึดถือเป็นแบบอย่างต่อไป ในบางกรณี มนุษย์พยายามใช้สติปัญญาในการคิดค้นทางวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อนำมาใช้ในการแก้ไขปัญหาของตน เช่น ในกรณีของการปฏิวัติอุตสาหกรรม แต่ปรากฏว่าท่ามกลางความเจริญก้าวหน้าทางการผลิตทาางด้านอุตสาหกรรม และความเจริญก้าวหน้าทางอุตสาหกรรมมีส่วนสำคัญในการนำไปสู่ความสำเร็จในการพัฒนาอุตสาหกรรม หรือเข้าสู่สงครามที่นำมาแต่ความพินาศ และความทุกข์ยาก สงครามมิอาจสร้างสันติภาาพที่ถาวรได้ สันติภาพจะอยู่ได้มิใช่ด้วยแสนยานุภาพทางการทหาร แต่จะต้องขึ้นอยู่กับความเข้าใจซึ่งกันและกันของมนุษย์ต้องช่วยเหลือเกื้อกูลกัน

วิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองของไทย


วิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองของไทย

        ประเทศไทยได้ชื่อว่าเป็นประเทศเก่าแก่ มีประวัติความเป็นมายาวนานชาติหนึ่ง แม้ว่าหลักฐานเกี่ยวกับปฐมกำเนิดของชาติไทยจะไม่สามารถยืนยันได้แน่ชัดว่า ชนชาติไทยเป็นผู้ที่อพยพมาจากทางตอนใต้ของประเทศจีนแถบมณฑลยูนาน หรือมีรกรากอยู่ในสุวรรณภูมิแห่งนี้มาแต่เก่าก่อนก็ตาม การศึกษาวิวัฒนาการทางการเมืองการปกครองสมควรจะเริ่มต้นตั้งแต่ประเทศไทยตั้งอาณาจักรมั่นคงขึ้นในแหลมทอง เมื่อ พ.ศ. 1781 อาณาจักรแรกของชาติไทย คือ อาณาจักรสุโขทัย ซึ่งสถาปนาโดยพ่อขุนศรีอินทราทิตย์ ต้นราชวงศ์พระร่วง ประกาศตนเป็นอิสระจากขอมซึ่งยึดครองดินแดนแถบนั้นอยู่ในสมัยนั้น

การเมืองการปกครองไทยตั้งแต่สมัยสุโขทัยจนกระทั่งถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ก่อนหน้ามีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 อยู่ในรูปแบบระบอบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ ซึ่งมีลักษณะคล้ายกับระบอบเผด็จการ เพราะว่าอำนาจสูงสุดในการปกครองเป็นของพระมหากษัตริย์เพียงพระองค์เดียวเท่านั้น พระมหากษัตริย์ได้อำนาจมาด้วยการสืบสันตติวงศ์ หรือการปราบดาภิเษก ประชาชนไม่มีส่วนร่วมในการสถาปนาหรือคัดเลือกพระมหากษัตริย์เลย

ระบอบประชาธิปไตยซึ่งมีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2475 มีลักษณะที่ไม่ราบรื่นและพัฒนามากนัก แม้ว่าจะดำเนินมาเป็นเวลากว่า 60 ปี แต่ก็พอจะอนุมานได้ว่าระบอบประชาธิปไตยได้หยั่งลึกพอสมควร การศึกษาการเมืองการปกครองไทยหากจะแบ่งยุคสมัยให้เหมาะสมแก่การศึกษาแล้วจะแบ่งออกได้เป็น 3 ยุคสมัยด้วยกัน คือ สมัยสุโขทัย ระหว่าง พ.ศ. 1781 – 1921 สมัยอยุธยา พ.ศ. 1893 – 2310 และสมัยรัตนโกสินทร์ พ.ศ. 2325 – 2475 ส่วนหลักจาก พ.ศ. 2475 จนถึงปัจจุบัน จะกล่าวโดยละเอียดในบทต่อไปที่ว่าด้วยการเมืองการปกครองแบบประชาธิปไตยของไทยในปัจจุบัน แม้ว่าในประวัติศาสตร์จะปรากฏว่ามีสมัยธนบุรีระหว่าง พ.ศ. 2311 – 2325 แต่เนื่องจากสมัยนั้นชาติไทยอยู่ในระยะสร้างชาติให้เป็นปึกแผ่นขึ้นมาใหม่หลักจากเสียกรุงศรีอยุธยาใน พ.ศ. 2310 และลักษณะการปกครองยังยึดแบบของกรุงศรีอยุธยาอยู่ ไม่ได้เสริมสร้างลักษณะใหม่ๆ ขึ้นมา จึงไม่ขอกล่าวเป็นการเฉพาะ และคงแบ่งยุคสมัยออกเป็น 3 สมัย ดังที่กล่าวตอนต้นเท่านั้น

 สมัยสุโขทัย
 สมัยอยุธยา
 สมัยอยุธยาตอนต้น
 สมัยอยุธยาตอนกลางและตอนปลาย
 สมัยรัตนโกสินทร์
 การปฏิรูปการปกครองสมัยสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
 คณะราษฎร

ประวัติเงินตรา

ประวัติเงินตรา ดินแดนซึ่งเป็นที่ตั้งของประเทศไทยในปัจจุบัน เป็นที่อยู่อาศัยของมนุษย์มาตั้งแต่ก่อน พุทธศตวรรษที่ 6 ซึ่งกลุ่มชนเหล่านี้ได้มีการติดต่อกับชุมชนอื่นในบริเวณใกล้เคียง โดยใช้สื่อกลางใน การแลกเปลี่ยนหลายรูปแบบ เช่น ลูกปัด เปลือกหอย เมล็ดพืช เป็นต้น สำหรับชนชาติไทยสันนิษฐานว่าได้มีการนำโลหะเงินมาใช้เป็นเงินตรามาตั้งแต่ในสมัยสุโขทัย เรียกกันว่า เงินพดด้วง ซึ่งมีเอกลักษณ์ เป็นของตัวเอง และแสดงให้เห็นถึงความเจริญของชนชาติไทยที่ได้ผลิตเงินตราขึ้นใช้เองเป็นเวลาหลายร้อยปีจวบจนมีการนำเงินเหรียญตามแบบสากลเข้ามาใช้
วิวัฒนาการเงินตราไทย
เงินตราฟูนัน เหรียญเงินด้านหนึ่งมีสัญลักษณ์พระอาทิตย์ครึ่งดวงเปล่งรัศมี อีกด้านหนึ่งเป็นรูปพระศรีวัตสะ กลองบัณเฑาะว์ที่พราหมณ์ใช้ในพิธีต่างๆ และมีเครื่องหมายสวัสดิกะซึ่งหมายถึงความโชคดี
เงินตราทวารวดี เงินตราที่พบยังคงมีสัญลักษณ์เกี่ยวกับกษัตริย์ อำนาจการปกครอง ความอุดมสมบูรณ์ และศาสนา เช่น เหรียญเงินด้านหนึ่งเป็นรูปบูรณกลศ
เงินตราศรีวิชัย ประมาณพุทธศตวรรษที่ 13 การค้าทางทะเลมีความสำคัญมากขึ้น ส่งผลให้เมืองที่อยู่บน คาบสมุทรสุวรรณภูมิ ได้แก่ ไชยา และนครศรีธรรมราช
เงินตราสุโขทัย ในสมัยนี้ยังคงใช้เงินพดด้วงเป็นเงินตรา แต่หลวงผูกขาดในการผลิต เงินพดด้วงในสมัยนี้ คล้ายเงินพดด้วงในสมัยสุโขทัย แต่ตรงปลายขาที่งอจรดกันไม่แหลมเหมือนเงินพดด้วงสุโขทัย ตราที่ประทับส่วนใหญ่เป็นตราจักรและตราประจำรัชกาล
เงินตราสมัยกรุงธนบุรี ในสมัยกรุงธนบุรี ยังคงใช้เงินพดด้วงเช่นครั้งกรุงเก่า สันนิษฐานว่ามีการผลิตเงินพดด้วงขึ้นใช้เพียง 2 ชนิดคือ เงินพดด้วงตราตรีศูลและตราทวิวุธ
สมัยรัชกาลที่ 1 เงินพดด้วงในรัชกาลนี้ เดิมประทับตราจักร และตราตรีศูล แต่หลังจากบรมราชาภิเษกแล้ว ได้โปรดเกล้าฯ ให้ผลิตเงินพดด้วงประจำรัชกาลแล้วประทับตราพระแสงจักร-บัวอุณาโลม
สมัยรัชกาลที่ 2 ตราที่ประทับบนเงินพดด้วย คือ ตราจักรและตราครุฑ สันนิษฐานว่าตราครุฑ มาจากพระนามเดิมของรัชกาลที่ 2 คือ "ฉิม" ซึ่งเป็นวิมานของพญาครุฑ
สมัยรัชกาลที่ 3 ตราปราสาทเป็นตราประจำพระองค์ของรัชกาลที่ 3 ผลิตเมื่อพระองค์เสด็จเถลิงถวัลราชสมบัติในปี พ.ศ. 2367 นอกจากนี้ยังมีการผลิตเงินพดด้วงเป็นที่ระลึกในโอกาสสำคัญๆ
สมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์จึงมีพระราชดำริที่จะเปลี่ยนรูปเงินตราของไทยจากเงินพดด้วงเป็นเงินเหรียญ ในสมัยนี้จึงถือว่ามีการใช้เหรียญกษาปณ์แบบสากลนิยมขึ้นเป็นครั้งแรก ประกาศให้เลิกใช้เงินพดด้วงทุกชนิด ตั้งแต่วันที่ 28 ตุลาคม 2447 เป็นต้นมา
สมัยรัชกาลที่ 5 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้มีการเปลี่ยนแปลงทางการเงินที่สำคัญ พระองค์มีพระราชดำริว่า มาตราของไทยที่ใช้อยู่ในขณะนั้น คือ ชั่ง ตำลึง บาท สลึง เฟื้อง เป็นระบบที่ยากต่อการคำนวณ และการจัดทำบัญชี
สมัยรัชกาลที่ 6 มีการผลิตเหรียญกษาปณ์ออกใช้แต่ไม่มี การเปลี่ยนแปลงรูปแบบมากนัก ส่วนใหญ่เป็นเหรียญกษาปณ์ที่มีราคาไม่สูงนัก คือ 1 บาท, 50 สตางค์, 25 สตางค์, 10 สตางค์, 5 สตางค์, และ 1 สตางค์
สมัยรัชกาลที่ 7 ในรัชกาลนี้มีการผลิตเหรียญหมุนเวียนออกใช้ไม่มากนัก เนื่องจากอยู่ในภาวะเศรษฐกิจตกต่ำ เหรียญประจำรัชกาลที่นำออกใช้เป็นเหรียญชนิดราคา 50 และ 25 สตางค์ ตราพระบรมรูป-ช้างทรงเครื่อง
สมัยรัชกาลที่ 8 เหรียญประจำรัชกาลที่ผลิตออกใช้หมุนเวียน เป็นเหรียญตราพระบรมรูป-พระครุฑพ่าห์ ชนิดราคา 50, 25, 10 และ 5 สตางค์ มี 2 รุ่น คือ รุ่นแรกมีพระบรมรูปเมื่อครั้นเจริญพระชนมพรรษา
สมัยรัชกาลที่ 9 นอกจากนี้ยังมีการจัดทำเหรียญกษาปณ์ที่ระลึก เพื่อบันทึกเหตุการณ์สำคัญ อันเกี่ยวเนื่องกับสถาบันชาติ 
ศาสนา พระมหากษัตริย์ และหน่วยงานต่าง ๆ



เงินตราฟูนันเงินตราทวารวดีเงินตราศรีวิชัยเงินตราสุโขทัยเงินตราสมัยกรุงศรีอยุธยา
เงินตราสมัยกรุงธนบุรีสมัยรัชกาลที่ 1สมัยรัชกาลที่ 2สมัยรัชกาลที่ 3สมัยรัชกาลที่ 4

สมัยรัชกาลที่ 5สมัยรัชกาลที่ 6สมัยรัชกาลที่ 7สมัยรัชกาลที่ 8สมัยรัชกาลที่ 9


วัตถุประสงค์ เพื่อใช้แลกเปลี่ยนระหว่างของ2สิ่งขึ้นไป

concept พกพาง่ายและสะดวก ทนทาน

ภายใต้เงื่อนไข จะต้องได้การรับรองจากรัฐบาลแล้วเท่านั้น มูลค่าอัตราแลกเปลี่ยนของเหรียญมาจากมูลค่าทางด้านประวัติของมัน และ/หรือ มูลค่าที่แท้จริงของโลหะที่เป็นส่วนประกอบ (เช่น เหรียญทอง, เหรียญเงิน หรือเหรียญแพลตินัม)

คุณสมบัติ - มีความคงทนเพื่อให้คงอยู่ได้นาน

-ขนาดและสี จะต้องบอกมูลค่าของเหรียญนั้นๆได้

-น้ำหนักเบาเพื่อพกพาสะดวก แต่น้ำหนักของแต่ละเหรียนญก็ต่างกันไปตามมูลค่าของเหรียญนั้นๆ

เงินในยุคแรกเป็นเงินพดด้วงด้วงมีลักค่อนข้างกลมรูปที่ใช้พิมพ์ก็แล้วแต่ยุคแต่ละสมัย เช่นเงินยุคทราวดี เป็นรูปบูรณกลศ

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations)

สมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ (Association of Southeast Asian Nations) 
 
asian
 
   คำขวัญ
            "One Vision, One Identity, One Community"  
               (หนึ่งวิสัยทัศน์ หนึ่งเอกลักษณ์ หนึ่งประชาคม)
  
   สัญลักษณ์อาเซียน
  
 
  
 
ต้นข้าวสีเหลือง 10 ต้น มัดรวมกันไว้”
 
หมายถึง
 
ประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ทั้ง 10 ประเทศรวมกัน
 
 เพื่อมิตรภาพและความเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน
 
โดยสีที่ปรากฏในสัญลักษณ์ของอาเซียน เป็นสีที่สำคัญของธงชาติของแต่ละประเทศสมาชิกอาเซียน
  
 
สีน้ำเงิน หมายถึง สันติภาพและความมั่นคง
 
สีแดง หมายถึง ความกล้าหาญและความก้าวหน้า
 
สีขาว
  หมายถึง ความบริสุทธิ์
 
สีเหลือง หมายถึง ความเจริญรุ่งเรือง
            
   สำนักเลขาธิการอาเซียน (ASEAN Secretariat)
            สำนักเลขาธิการอาเซียน ตั้งอยู่ที่ กรุงจากาตาร์
            
   เลขาธิการ
            ดร. สุรินทร์ พิศสุวรรณ (เริ่มดำรงตำเเหน่งเมื่อปี พ.ศ.2551)
            
   ปฏิญญากรุงเทพ
            8 สิงหาคม พ.ศ. 2510
            
   กฎบัตรอาเซียน
            16 ธันวาคม พ.ศ. 2551
            
   ประเทศสมาชิก
            อาเซียนเริ่มก่อตั้งครั้งแรก : ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 5 ประเทศ ได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ และไทย
            
            ปัจจุบันอาเซียน :
            ประกอบด้วยสมาชิกทั้งหมด 10 ประเทศ ได้แก่
  
                       1. สาธารณรัฐอินโดนีเซีย  (Republic of Indonesia)
                       2. ประเทศมาเลเซีย  (Malaysia)
                       3. สาธารณรัฐฟิลิปปินส์  (Republic of the Philippines)
                       4. สาธารณรัฐสิงคโปร์  (The Republic of Singapore)
                       5. ราชอาณาจักรไทย  (Kingdom of Thailand)
                       6. บรูไนดารุสซาลาม  (Brunei Darussalam)
                       7. สาธารณรัฐสังคมนิยมเวียดนาม  (The Socialist Republic of Vietnam)
                       8. สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว (สปป.ลาว)
                          (The Lao People's Democratic Republic of Lao PDR)
                       9. สหภาพพม่า  (Union of Myanmar)
                       10. ราชอาณาจักรกัมพูชา  (Kingdom of Cambodia)
                       
            อาเซียน +3 : ประกอบด้วย กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ และประเทศ จีน เกาหลีใต้ และญี่ปุ่น
            
            อาเซียน+6 : ประกอบด้วย กลุ่มประเทศอาเซียน 10 ประเทศ กลุ่มประเทศ +3 และประเทศออสเตรเลีย อินเดีย
                                  และนิวซีแลนด์
  
   กฎบัตรอาเซียน ( ASEAN Charter)
          กฎบัตรอาเซียน (ASEAN Charter) คือ ธรรมนูญอาเซียนที่จะมีการวางกรอบของกฎหมายและโครงสร้างองค์กร
เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของอาเซียนในการขับเคลื่อนเพื่อการรวมตัวเป็นประชาคม อาเซียนภายในปี 2015 (พ.ศ.2558)
เพื่อให้อาเซียนเป็นองค์กรระหว่างรัฐบาลในภูมิภาคที่มีประสิทธิภาพ มีประชาชนเป็นศูนย์กลางและเคารพในกติกา
การทำงานระหว่างกันมากยิ่งขึ้น